ช่วง ค.ศ. 1943
บักส์ได้ออกการ์ตูนอีกทั้งหมด 7 ตอนในช่วงปี ค.ศ. 1943 เรื่องแรกกำกับโดย โรเบิร์ต แคลมเพ็ต ชื่อตอน Tortoise Wins by a Hare ออกฉาย 20 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1943 ซึ่งจากการพ่ายแพ้ให้กับเต่า ซิซิล เทอร์เทิล ในตอน Tortoise Beats Hare ของ เท็กซ์ เอฟวรีย์ นั้น ในตอนนี้บักส์ได้ท้าเต่า ซิซิล เทอร์เทิล เพื่อขอแก้มือ จากคำแนะนำของ ซิซิล นั้นบักส์ก็ได้สร้างชุด ลดแรงเสียดทาน ซึ่งดูคล้ายกระดองเต่า ไว้ใช้แข่ง ในทางกลับกัน ซิซิล
ในตอนที่สองซึ่งออกฉายในปีเดียวกันนี้นั้น กำกับโดย ชัค โจนส์ ชื่อตอน Super Rabbit ออกฉายเมื่อ 13 เมษายน ค.ศ. 1943 เป็นการล้อเลียน ซูเปอร์แมน จากการ์ตูนซีรีส์ของ ฟเลเชอร์สตูดิโอ โดยบักส์นั้น ได้รับพลังยอดมนุษย์ (super powers) จากการกิน super carrots ที่พัฒนาโดย ศาสตราจารย์ คานาฟราซ (Canafrazz) ภารกิจแรกของบักส์นั้นคือ ต่อสู้กับ คาวบอย จาก รัฐเทกซัส ผู้ซึ่งเกลียดกระต่าย และนี่ก็เป็นภารกิจสุดท้ายของบักส์ในขณะที่เป็นยอดมนุษย์ แล้วบักส์ได้แสดงถึงความรักชาติ โดยสละชุดที่มีสีสันออก และประกาศ "This looks like a job for a real super hero" แล้วก็โผล่ออกมาในชุดเครื่องแบบทหาร ของ กองทัพเรือสหรัฐฯ ซึ่งขณะนั้นยังคงรบอยู่ในสงครามโลกครั้งที่สอง
ตอนที่สามคือ Jack-Wabbit and the Beanstalk กำกับโดย ฟริซ เฟรเลง ฉาย 12 มิถุนายน ค.ศ. 1943 เนื้อเรื่องมีเค้าโครงมาจากเรื่อง แจ็คผู้ฆ่ายักษ์ (Jack and the Beanstalk) โดยวางตัวให้บักส์เป็นผู้ฆ่ายักษ์ ตัวยักษ์นั้นได้ถูกถ่ายทอดออกมาให้มีลักษณะที่เต็มไปด้วยความมั่นใจ และความรู้สึกว่าตัวนั้นเหนือชั้นกว่าบักส์ ซึ่งสามารถสังเกตได้จากคำพูด "Well he can't outsmart me, 'cause I'm a moron" (เป็นมุขคือ ไม่มีความฉลาด (smart) ที่จะให้ฉลาดกว่า (outmart) ได้ -- moron นั้นคือ คนที่สมองหยุดเจริญเติบโตตั้งแต่เด็ก) แต่บักส์ก็ได้พิสูจน์ถึงปัญญาที่เหนือชั้นกว่าในตอนจบ เป็นที่น่าสังเกตว่ามิคกี เมาส์ นั้น ก็ได้ออกตอนแจ็คผู้ฆ่ายักษ์ ในชื่อ Brave Little Tailor ฉาย 23 กันยายน ค.ศ. 1938 ก่อนหน้านั้นแล้ว และ มิคกี เมาส์ ก็ได้ชนะยักษ์ด้วยปัญญาเช่นกัน แต่ในลักษณะที่แตกต่างไปจากบักส์ นี่ก็เป็นส่วนที่แสดงให้เห็นว่า การ์ตูนของวอร์เนอร์ บราเธอร์ส นั้น มีลักษณะความขำขันเป็นของตัวเอง และก็เป็นสิ่งที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของ การ์ตูนของวอร์เนอร์ บราเธอร์ส ในช่วงยุค 40
ตอนถัดมาคือ Wackiki Wabbit โดยการกำกับของ ชัค โจนส์ ออกฉาย 3 มิถุนายน ค.ศ. 1943 เป็นเรื่องของ คน 2 คนติดเกาะร้าง โดยไม่มีอาหารติดตัวไปด้วย การต่อสู้ของทั้งสองนั้น มีต้นแบบมาจาก ไมเคิล มัลทีส และ เท็ด เพียร์ส ซึ่งเล่นเป็นเสียงพากย์ของทั้งสอง และเป็นผู้เขียนบทพูดด้วยเช่นกัน ทั้งสองคนนั้นได้มีส่วนเป็นผู้เขียนบทพูดของบักส์ในอีกหลายตอน ซึ่งตอนนี้นั้น เพียร์สเป็นผู้เขียน ตัวการ์ตูนทั้งสองนั้น ตั้งใจที่จะกินอีกฝ่ายเป็นอาหาร และแล้วบักส์ก็ได้มาที่เกาะ เมื่อทั้งสองนั้นเห็นบักส์เข้า ก็ตั้งใจจะจับกิน แต่บักส์ก็หาทางหนีไปจนได้ทุกครั้งเช่นเคย
ตอนที่ 5 ของปี เป็นเพียงการปรากฏตัวสั้นๆ ใน Porky Pig's Feat ฉาย 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1943 เป็นครั้งแรกที่ผู้กำกับ แฟร็งค์ แทชลิน ที่ใช้ตัวการ์ตูนบักส์ เป็นเรื่องการเดินทางของ พอร์คกี พิก และ แดฟฟี ดัก ทั้งสองได้มาพักที่โรงแรม "Broken Arms Hotel" (โรงแรมแขนหัก) โดย แดฟฟี ดัก นั้น ถังแตกจากการพนัน เหลือเงินติดตัวแค่พอค่าใช้จ่ายเท่านั้น ส่วน พอร์คกี ก็ถูกขูดรีด โดยโดนเก็บค่าที่พักแพงกว่าปกติ ทั้งคู่ถูกข่มขู่ว่า ถ้าไม่จ่าย ทั้งคู่จะได้รู้จักเหตุที่มาของชื่อโรงแรม ตลอดทั้งตอนเป็นเรื่องราว ที่ทั้งคู่พยายามหนีออกจากโรงแรมโดยไม่จ่ายค่าที่พัก นี่เป็นตอนแรกที่ พอร์คกี ปรากฏตัวพร้อมกับ บักส์ และ แดฟฟี ซึ่งปกติเป็นศัตรูของเขา ในลักษณะที่ค่อนข้างเป็นมิตร ถึงแม้จะเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ก็ตาม
ทั้งสามคือ บักส์ พอร์คกี้ และ แดฟฟี นั้นได้ออกตอน A Corny Concerto กำกับโดย โรเบิร์ต แคลมเพ็ต ฉาย 18 กันยายน ค.ศ. 1943 ตอนนี้เขียนบทพูดโดย แฟรงค์ แทชลิน เป็นเรื่องล้อเลียนภาพยนตร์การ์ตูนเรื่อง แฟนตาเซีย ของ วอลต์ ดิสนีย์ ในเรื่อง ตัวการ์ตูนจะถูกแบ่ง ให้แสดงตามเสียงเพลงวอลทซ์ ของโยฮันน์ สเตราส์ บุตร สองท่อน เอลเมอร์ ฟัดด์ ได้ทำการพูดแนะนำเพลงทั้งสองท่อน ในฐานะที่เป็นวาทยากรประจำวงออเคสตรา ของ คอร์นี-จีฮอลล์ ซึ่งเป็นการล้อเลียน ลีโอโปลด์ สตอโควสกี และ คาร์เนกีฮอลล์ จากเรื่อง 'แฟนตาเซีย' ในเพลงท่อนแรก "A Tale of the Vienna Woods" (Geshicthen aus dem Wienerwald - ค.ศ. 1868) พอร์คกี พิก และสุนัขล่าเนื้อของเขา ไล่ล่าบักส์เป็นครั้งแรก แล้วปืนของ พอร์คกี บังเอิญลั่นขึ้น ในขณะที่ปากกระบอกนั้นหันไปยังทั้งสามคน ทั้งสามคนก็คิดว่าตัวนั้นถูกยิง หลังจากที่โอดครวญจะเป็นจะตาย ท่อนเพลงก็จบลงด้วยการที่ทั้งสามนั้นโล่งใจที่ตัวเองไม่ได้ถูกกระสุน เพลงท่อนที่สองคือ "The Blue Danube" (An der schönen, blauen Donau - ค.ศ. 1867) เป็นเรื่องของลูกเป็ด แสดงโดย แดฟฟี ดัก เลียนแบบเรื่อง Ugly Duckling - ค.ศ. 1843 (ลูกเป็ดขี้เหร่) ของ ฮันส์ คริสเตียน แอนเดอร์เซน โดยลูกเป็ดนั้นกำพร้า และถูกเลี้ยงดูโดยครอบครัวหงส์ แต่ลูกเป็ดนั้นก็จะโดนดูถูก และแล้วในขณะที่อีแร้งมาจับลูกหงส์ แดฟฟี ดัก ได้ต่อสู้เอาชนะอีแร้ง และช่วยเหลือลูกหงส์ไว้ได้ ทำให้ได้รับการยอมรับจากครอบครัวหงส์ ตอนนี้เป็นตอนแรกที่ บักส์ แดฟฟี พอร์คกี และ เอลเมอร์ ซึ่งเป็นตัวการ์ตูนที่มีชื่อเสียง จาก ลูนีย์ทูนส์ ปรากฏตัวพร้อมกัน เนื้อเรื่องตอนนี้นั้น เป็นเนื้อเรื่องที่พื้นๆ ง่ายต่อการนำเสนอ และถือเป็นตอนเด่นของการ์ตูนในช่วงเวลานั้น ทั้งทางด้าน ความมีชีวิตชีวา และ การจัดท่าเต้น
การปรากฏตัวครั้งที่ 7 ของบักส์ ในปี ค.ศ. 1943 นั้นกำกับโดย โรเบิร์ต แคลมเพ็ต ชื่อตอน Falling Hare บักส์ในตอนนี้นั้น กำลังพักผ่อน อ่านหนังสือ "Victory Through Hare Power" อยู่ที่ลานบินซึ่งดูเหมือนจะไม่มีใครอื่นอยู่ด้วย บักส์นั้นในขณะที่กำลังสนุกสนานอยู่กับเรื่องเล่าเกี่ยวกับตัว เกรมลิน ในสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งมีหน้าที่สร้างความหายนะให้กับเครื่องบิน ก็ได้ยินเสียงจากเครื่องบินทิ้งระเบิดที่อยู่ใกล้ๆ เมื่อเขาไปตรวจดูก็พบตัวเกรมลินกำลังก่อวินาศกรรมเครื่องบินอยู่ บักส์ได้พยายามเข้าไปขัดขวาง มารู้ตัวอีกทีเขาก็กำลังขับเครื่องบินอยู่ การบินนั้นเป็นไปอย่างทุลักทุเล และ ทำให้บักส์นั้นถึงกับเสียวสันหลังเลยทีเดียว แต่เขาก็ช่วยเครื่องบินเอาไว้ได้ก่อนที่จะพุ่งโหม่งพื้นโลก ตอนนี้เป็นหนึ่งในจำนวนไม่กี่ตอนที่บักส์นั้นได้เสียความเยือกเย็น เรียกได้ว่า แตกตื่นเสียจริตไปเลยก็ว่าได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น